วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ไอซีทีชี้แฮกทวิตเตอร์นายกฯ ผิดพ.ร.บ.คอมพ์

เวลา 09.00 น. (3 ต.ค.) ที่ห้องประชุมชั้น 9 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที แถลงข่าวถึงกรณีบัญชีทวิตเตอร์ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หรือ @PouYingluck ถูกแฮกเตอร์เจาะเข้าไปในระบบ โดยเรื่องกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 ต.ค. โดยได้ทวิตข้อความแรกประมาณ 10.22 น. จนถึงเวลา 10.43 น.รวมทั้งสิ้น 8 ข้อความ
โดยการลักลอบใช้ทวิตเตอร์นั้น เขา กล่าวว่า เสมือนเป็นการแฮก ซึ่งมีความผิดตามมาตรา 5 7 9 และ 14 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 โดยขณะนี้ เปิดเผยได้แต่ว่า ไอซีทีได้ประสานกับหลายฝ่ายทั้งผู้ประกอบการโทรศัพพท์มือถือ ผู้ให้บริการทวิตเตอร์ในต่างประเทศ ซึ่งได้ทราบเบาะแสของผู้กระทำความผิดแล้ว ซึ่งเบื้องต้นรู้ตัวเพียงว่า เป็นคนไทย และกระทำความผิดในประเทศไทย
เขา กล่าวว่า มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตราการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิด 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตราการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท และตามมาตรา 14 ผู้ใดว่าด้วยการขโมยเข้าไปใช้ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลอื่นปลอม ซึ่งมี 5 มาตรา จำคุกสูงสุด 2 ปี ปรับ 40,000 บาท
“การที่ผู้ใดจะใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คต้องยอมรับเงื่อนไขและลงทะเบียนเข้าใช้ ซึ่งผู้ดูแลระบบคือผู้ที่ให้บริการ ซึ่งมีลักษณะกรใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือเหมือนกันซึ่งถ้าทำเบอร์หล่นหายก็อาจถูกนำเบอร์ไปใช้เช่นกัน” รมว.ไอซีที
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีผู้ประสงค์ร้ายแฮกทวิตเตอร์ เพราะเมื่อ 2 ปี ก่อนนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ก็เคยถูกแฮกทวิตเตอร์ ซึ่งวันนี้อยากทำความเข้าใจกับประชาชนว่าการใช้ข้อมูลโซเชียลเน็ตเวิร์คทั้ง เฟสบุ๊ค และทวิตเตอร์ต้องระวังตัว ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นกับนายกฯ ต้องเห็นใจกัน และช่วยกันประณามการกระทำดังกล่าว
“วันนี้ไอซีทีได้รับเบาะแสผู้กระทำความผิดแล้ว แต่ต้องรวบรวมข้อมูลให้แน่นหนาก่อนที่จะจับกุม ส่วนประชาชนที่โดนเหตุการณ์อย่างนายกฯ สามารถแจ้งมาที่ไอซีทีได้ เพราะเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพ์
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า หากเห็นการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นกับใคร ขอเตือนไม่ให้ส่งต่อข้อมูลเพราะเข้าข่ายกระทำความผิดร่วมกัน ทวิตเตอร์ที่ถูกแฮกนี้เป็นทวิตเตอร์ที่นายกฯในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีทีมงานร่วมทำงานด้วย การที่จะวิเคราะห์ว่าใครกระทำต้องวิเคราะห์อย่างละเอียดและตำรวจต้องติดตามเบาะแส
ส่วนคำตอบที่ว่า จะได้ตัวผู้กระทำคามผิดเมื่อไร และจะหาตัวผู้กระทำผิดได้หรือไม่ เขา ตอบเพียงว่า ขณะนี้ทั้งกระทรวงและตำรวจได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ได้รับทราบเกี่ยวกับข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ (ล็อก ไฟล์) เพียงแต่การก่อเหตุของแฮกเกอร์ก็เหมือนอาชญากรทั่วไป ซึ่งเราก็อยากจะจับให้ได้ แต่แฮกเกอร์ก็ต้องการหลบหนี
“ผมเข้าใจว่าคนที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คใช้เพื่อการสื่อสาร ไม่ใช่เรื่องที่เป็นทางการ ซึ่งเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน ตั้งแต่ลงทะเบียนใช้งาน ผู้ให้บริการได้แจ้งถึงระดับความปลอดภัยไว้แล้ว ซึ่งการที่ผู้ประสงค์ไม่ดีเข้ามาแฮกทวิตเตอร์อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบาย ซึ่งเป็นการแสดงออกโดยวิธีนี้” รมว.ไอซีทีกล่าว
สำหรับขณะนี้นายกฯ ได้ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านโชเซียลเน็ตเวิร์คผ่านที่ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก Y.shinawatra เท่านั้น ซึ่งทวิตเตอร์ @PouYingluck ได้ระงับใช้ไปแล้ว
สรุปข่าว
ทวิตเตอร์ ของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกแฮกเกอร์ มีการลักลอบใช้ทวิตเตอร์ โพสข้อความที่ไม่เหมาะสม ซึ่งการกระทำดังกล่าว ผิด พรบ คอมพิวเตอร์ในมาตราที่ 5 7 9
มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตราการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิด 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตราการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท และตามมาตรา 14 ผู้ใดว่าด้วยการขโมยเข้าไปใช้ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลอื่นปลอม ซึ่งมี 5 มาตรา จำคุกสูงสุด 2 ปี ปรับ 40,000 บาท
วิธีป้องกันปัญหาในลักษณะนี้
ดิฉันจะไม่ล่วงละเมิดข้อมูลทาง social network ของบุคคลอื่นเช่นนี้ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เป็นการไม่ให้เกียรติและไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น
ที่มาของข่าว